เมนู

[ว่าด้วยการรับ การใช้ให้รับ และวิธีปฏิบัติในรูปิยะ]


บทว่า อุคฺคณฺเหยฺย แปลว่า พึงถือเอา. ก็เพราะเมื่อภิกษุรับเอา
จึงต้องอาบัติ; ฉะนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า อุคฺคณฺเหยฺย นั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ภิกษุรับเอง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. แม้ในบทที่เหลือ ก็มี
นัยอย่างนี้ .
ในการรับเองและใช้ให้รับนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
เป็นอาบัติตัวเดียวแก่ภิกษุผู้รับเอง หรือใช้ให้รับวัตถุสิ่งเดียว ใน
บรรดาภัณฑะ คือ ทองเงิน ทั้งกหาปณะ และมาสก. ถ้าแม้นว่า ภิกษุ
รับเอง หรือใช้ให้รับตั้งพันอย่างรวมกัน, เป็นอาบัติมากตามจำนวนวัตถุ.
แต่ในมหาปัจจรีและกุรุนที กล่าวรวมกันว่า เป็นอาบัติ โดยนับรูป
ในถุงที่ผูกไว้หย่อน ๆ หรือในภาชนะที่บรรจุไว้หลวม ๆ. ส่วนในถุงที่
ผูกไว้แน่น หรือในภาชนะที่บรรจุแน่น เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น.
ส่วนในการยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้ มีวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อเขา
กล่าวว่า นี้เป็นของพระผู้เป็นเจ้า ถ้าแม้นภิกษุยินดีด้วยจิต เป็นผู้
ใคร่เพื่อจะรับเอาด้วยกายหรือวาจา, แต่ปฏิเสธว่า นี้ไม่ควร ไม่เป็น
อาบัติ. แม้ไม่ห้ามด้วยกายและวาจา เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ ไม่ยินดีด้วยคิดว่า
นี้ไม่ควรแก่เรา ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน. จริงอยู่ บรรดาไตรทวาร
อันภิกษุห้ามแล้วด้วยทวารใดทวารหนึ่ง ย่อมเป็นอันห้ามแล้วแท้. แต่ถ้า
ไม่ห้ามด้วยกายและวาจา รับอยู่ด้วยจิต ย่อมต้องอาบัติ ในกายทวาร
และวจีทวาร มีการไม่กระทำเป็นสมุฏฐาน เพราะไม่กระทำการห้ามที่ตน
พึงกระทำด้วยกายและวาจา. แต่ ชื่อว่า อาบัติ ทางมโนทวาร ไม่มี.
บุคคลคนเดียววางเงินทองตั้งร้อยตั้งพันไว้ใกล้เท้า ด้วยกล่าวว่า นี้ จงเป็น

ของท่าน. ภิกษุห้ามว่า นี้ไม่ควร. อุบาสกพูดว่า กระผมสละถวายท่าน
แล้ว ก็ไป มีคนอื่นมาที่นั้น ถามว่า นี้อะไร ขอรับ ! ภิกษุพึงบอก
คำที่อุบาสกนั้น และคนพูดกัน. ถ้าเขาพูดว่า ผมจักเก็บให้ ขอรับ !
ท่านจงแสดงที่เก็บ. ภิกษุพึงขึ้นไปยังปราสาทถึงชั้น 7 แล้วพึงบอกว่า นี้ที่
เก็บ. แต่อย่าพึงบอกว่า จงเก็บไว้ในที่นี้. อกัปปิยวัตถุ (มีทองและเงิน
เป็นต้น ) ย่อมเป็นอันอาศัยวัตถุที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ตั้งอยู่ด้วย
คำบอกมีประมาณเท่านี้, พึงปิดประตูแล้วอยู่รักษา.
ถ้าว่า อุบาสกถือเอาบาตรและจีวรซึ่งเป็นของจะขายบางอย่างมา,
เมื่อเขากล่าวว่า ท่านจักรับสิ่งนี้ไหม ขอรับ ! พึงกล่าวว่า อุบาสก
พวกเรามีความต้องการสิ่งนี้ และวัตถุชื่อเห็นปานนี้ ก็มีอยู่, แต่ไม่มี
กัปปิยการก. ถ้าเขาพูดว่า ผมจักเป็นกัปปิยการก, ขอท่านโปรดเปิด
ประตูให้เถิด พึงเปิดประตูแล้ว กล่าวว่า ตั้งอยู่ในโอกาสโน้น. และ
อย่าพึงกล่าวว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้. แม้อย่างนี้ อกัปปิยวัตถุก็เป็น
อันอาศัยวัตถุที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะตั้งอยู่เหมือนกัน. ถ้าเขาถือเอา
กหาปณะนั้นแล้ว ถวายกัปปิยภัณฑ์แก่เธอ, ควรอยู่. ถ้าเขาถือเอาเกินไป
พึงบอกเขาว่า พวกเราจักไม่เอาภัณฑะของท่าน, จงเก็บเสีย.
ในคำว่า สงฺฆมชฺเฌ นิสฺสชฺชิตพฺพํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่
ตรัสว่าพึงสละ แก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล ก็เพราะธรรมดา
ว่ารูปิยะเป็นอกัปปิยะ (เป็นของไม่สมควร).
อนึ่ง เพราะรูปิยะนั้น เป็นเพียงแต่ภิกษุรับไว้เท่านั้น เธอไม่
ได้จ่ายหากัปปิยภัณฑ์อะไรด้วยรูปิยะนั้น; ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงการใช้
สอยโดยอุบาย จึงตรัสว่า พึงสละในท่ามกลางแห่งสงฆ์.

ข้อว่า กปฺปิยํ อาจิกฺขิตพฺพํ สปฺปิ วา มีความว่า พึงบอก
อย่างนี้ว่า อุบาสก เนยใส หรือน้ำมัน ย่อมควรแก่บรรพชิตทั้งหลาย.
[ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ]
ข้อว่า รูปิยปฏิคฺคาหกํ ฐเปตฺวา สพฺเพเหว ปริภุญฺชิตพฺพํ
มีความว่า ภิกษุทั้งหมดพึงแจกกันบริโภค. ภิกษุผู้รับรูปิยะไม่พึงรับ
ส่วนแบ่ง. แม้ได้ส่วนที่ถึงแก่พวกภิกษุอื่นหรืออารามิกชนแล้ว จะบริโภค
ก็ไม่ควร. โดยที่สุด เนยใส หรือน้ำมันนั้น อันดิรัจฉานมีลิงเป็นต้น
ลักเอาไปจากส่วนแบ่งนั้น วางไว้ในป่า หรือที่หล่นจากมือของสัตว์
เหล่านั้น ยังเป็นของอันดิรัจฉานหวงแหนก็ดี เป็นของบังสุกุลก็ดี ไม่
สมควรทั้งนั้น. แม้จะอบเสนาสนะ ด้วยน้ำอ้อยที่นำมาจากส่วนแบ่งนั้น
ก็ไม่ควร. จะตามประทีปด้วยเนยใส หรือน้ำมันแล้วนอนก็ดี กระทำ
กสิณบริกรรมก็ดี สอนหนังสือก็ดี ด้วยแสงสว่างแห่งประทีป ไม่ควร.
อนึ่ง จะทาแผลที่ร่างกายด้วยน้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น จากส่วน
แบ่งนั้น ก็ไม่ควรเหมือนกัน.
คนทั้งหลาย เอาวัตถุนั้น จ่ายหาเตียงและตั่งเป็นต้นก็ดี สร้าง
อุโบสถาคารก็ดี สร้างโรงฉันก็ดี จะบริโภคใช้สอย ก็ไม่ควร. แม้ร่มเงา
(แห่งโรงฉัน เป็นต้น) อันแผ่ไปอยู่ตามเขตของเรือน ก็ไม่ควร. ร่มเงา
ที่เลยเขตไป ควรอยู่ เพราะเป็นของจรมา. จะเดินไปตามทางก็ดี
สะพานก็ดี เรือก็ดี แพก็ดี ที่เขาจำหน่ายวัตถุนั้นสร้างไว้ไม่ควร. จะดื่ม
หรือใช้สอยน้ำที่เอ่อขึ้นเต็มปริ่มสระโบกขรณี ซึ่งเขาให้ขุดด้วยวัตถุนั้น
ก็ไม่ควร. แต่ว่า เมื่อน้ำภายใน (สระ) ไม่มี น้ำที่ไหลมาใหม่ หรือ

น้ำฝนไหลเข้าไป สมควรอยู่. แม้น้ำที่มาใหม่ซึ่งซื้อมาพร้อมกับสระ
โบกขรณีที่ซื้อมา (ด้วยวัตถุนั้น ) ก็ไม่ควร.
สงฆ์ตั้งวัตถุนั้นเป็นของฝาก (เก็บดอกผล) บริโภคปัจจัย แม้
ปัจจัยเหล่านั้น ก็ไม่ควรแก่เธอ. แม้อารามซึ่งเป็นที่อันสงฆ์รับไว้
(ด้วยวัตถุนั้น ) ก็ไม่ควรเพื่อบริโภคใช้สอย. ถ้าพื้นดินก็ดี พืชก็ดี เป็น
อกัปปิยะ, จะใช้สอยพื้นดิน จะบริโภคผลไม้ไม่ควรทั้งนั้น. ถ้าภิกษุ
ซื้อพื้นดินอย่างเดียว เพาะปลูกพืชอื่น, จะบริโภคผล ควรอยู่. ถ้าพืช
ภิกษุซื้อมาปลูกลงในพื้นดินอันเป็นกัปปิยะ จะบริโภคผล ไม่ควร. จะนั่ง
หรือนอนบนพื้นดิน ควรอยู่.
ข้อว่า สเจ โส ฉฑฺเฑติ มีความว่า เขาโยนทิ้งไป ที่แห่งใด
แห่งหนึ่ง. ถ้าแม้นเขาไม่ทิ้ง หรือถือเอาไปเสียเอง, ไม่พึงห้ามเขา
ข้อว่า โน เจ ฉฑฺเฑติ มีความว่า ถ้าเขาไม่ถือเอาไป และไม่
ทิ้งให้ หลีกไปตามความปรารถนา ด้วยใส่ใจว่า ประโยชน์อะไรของเรา
ด้วยการขวนขวายนี้, ลำดับนั้น สงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้มีลักษณะตามที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเเล้ว ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.

[ว่าด้วยองค์แห่งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ]


ในคำว่า โย น ฉนฺทาคตึ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุผู้
กระทำวัตถุนั้นเพื่อตน หรือยกตนขึ้นอ้าง ด้วยอำนาจแห่งความโลภ
ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะชอบกัน. เมื่อรุกรานผู้อื่นด้วยอำนาจ
แห่งโทสะว่า ภิกษุนี้ไม่รู้แม่บทเลย ไม่รู้วินัย ชื่อว่า ย่อมถึงความ ลำเอียง
เพราะโทสะ. เมื่อถึงความเป็นผู้พลั้งเผลอและหลงลืมสติด้วยอำนาจโมหะ